ขั้นตอนการขอใช้บริการ

  1. แจ้งชื่อลูกค้าผู้ขอใช้บริการ
  2. แจ้งวัตถุประสงค์การประเมินราคาและการนำรายงานไปใช้
  3. ประเภททรัพย์สิน จำนวน และที่ตั้งทรัพย์สิน
  4. รายละเอียดเบื้องต้นของทรัพย์สินประกอบการเสนอราคา เช่น จำนวนโฉนดที่ดิน เนื้อที่ดิน ประเภทและจำนวนอาคารและสิ่งปลูกสร้างพร้อมพื้นที่ใช้สอย รายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายการเรือและรถยนต์ รายการทรัพย์สินอื่นๆ
  5. บริษัทจะทำการเสนอ ระบุชื่อลูกค้าผู้รับบริการ วัตถุประสงค์ของการประเมิน รายละเอียดทรัพย์สินที่จะประเมิน ที่ตั้ง จำนวนรายงาน ระยะเวลาทำงาน ค่าบริการ เอกสารที่ต้องจัดเตรียม เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ
  6. ตกลงว่าจ้าง อ้างอิงจากใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ หรือสัญญาว่าจ้าง พร้อมชำระค่าบริการ
  7. นัดหมายการสำรวจและประเมินราคา
  8. นำเสนอและส่งรายงานประเมินประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

 

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

 

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • เอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
  • สัญญาภาระผูกพันทางนิติกรรมต่างๆ เช่น หนังสือจำนองที่ดิน สัญญาเช่าทรัพย์สิน หนังสือจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ และอื่นๆ
  • หนังสือขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (ใบอนุญาตก่อสร้าง)
  • สัญญาซื้อ-ขายทรัพย์สิน เอกสารซื้อขายต่างๆ
  • สัญญารับเหมาก่อสร้าง
  • ผังโครงการ ผังที่ดินและอาคาร (Land and Building Layout)
  • แบบแปลนอาคาร (แปลนพื้น)
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการต่างๆ
  • แผนที่ตั้งทรัพย์สิน
  • เอกสารอื่นๆ ตามประเภทของทรัพย์สิน

 

เครื่องจักรและอุปกรณ์

  • รายการเครื่องจักร พร้อมรายละเอียดแสดงชื่อเครื่องจักร ส่วนประกอบ ยี่ห้อและรุ่น ประเทศที่ผลิต ขนาดความสามารถ ปีที่ซื้อหรือผลิต
  • ข้อมูลทางด้านเทคนิค
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร กรณีจดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนเครื่องจักร
  • สัญญาภาระผูกพันทางนิติกรรมต่างๆ เช่น หนังสือจำนองเครื่องจักร หนังสือจำนำเครื่องจักร สัญญาเช่าซื้อ หนังสือจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ และอื่นๆ
  • แผนที่ตั้งทรัพย์สิน แผนผังโรงงาน และผังการติดตั้งเครื่องจักร
  • เอกสารซื้อเครื่องจักร เช่น ใบเสนอราคา สัญญาซื้อขายและติดตั้ง อินวอยซ์ ใบขนสินค้าขาเข้าฯ เอกสารบันทึกมูลค่าทางบัญชี
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และใบอนุญาตเฉพาะในบางกิจการ
  • เอกสารอื่นๆ ตามประเภทของทรัพย์สิน

 

ครุภัณฑ์

  • รายการทรัพย์สิน
  • เอกสารบันทึกมูลค่าทางบัญชี
  • เอกสารซื้อขาย

 

เรือ

  • ใบทะเบียนเรือไทย
  • ใบอนุญาตใช้เรือ และใบรับรองการตรวจเรือ
  • ข้อมูลจำเพาะเรือ (Ship’ s Particular)
  • เอกสารการซื้อขาย เช่น อินวอยซ์ สัญญาต่อเรือ สัญญาซื้อขาย (Memorandum of Agreement, MOA)
  • แบบเรือ (General Arrangement – GA)
  • ประวัติเรือ
  • รายการซ่อมแซมและค่าใช้จ่าย
  • Certificate ต่างๆ รับรองการตรวจเรือตาม Class ที่สังกัด
  • เอกสารอื่นๆ ประกอบการพิจารณามูลค่า เช่น การประกันเรือและสินค้า สัญญาว่าจ้างการขนส่ง เป็นต้น

 

ยานพาหนะและเครื่องจักรกลหนัก

  • รายการทรัพย์สิน พร้อมรายละเอียดแสดงชื่อเครื่องจักร ส่วนประกอบ ยี่ห้อและรุ่น ประเทศที่ผลิต ขนาดความสามารถ ปีที่ซื้อหรือผลิต
  • ทะเบียนรถยนต์ (กรณีจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร (กรณีจดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
  • เอกสารการซื้อขาย

 

สต๊อคสินค้า

  • รายการสินค้า ประเภท และปริมาณ
  • รายการบันทึกสินค้าคงคลังล่าสุดและย้อนหลัง
  • ราคาสินค้า
  • ที่ตั้ง และสถานที่จัดเก็บ

 

ค่าบริการ

 

พิจารณาตามประเภททรัพย์สิน ปริมาณงาน ความยากง่ายและลักษณะเฉพาะของทรัพย์สิน วิธีการประเมินราคา มูลค่าทรัพย์สิน จำนวนเอกสารสิทธิ์ และที่ตั้งทรัพย์สิน วัตถุประสงค์และการนำรายงานไปใช้ รายงานประเมิน ซึ่งพิจารณาเป็นกรณีไป

ติดต่อสอบถามและให้คำปรึกษา (โทร.0-2332-8929, 086-342-2489)

ขอใบเสนอราคา (กรอกข้อมูลชื่อบริษัท, ชื่อผู้ติดต่อ, หมายเลขโทรศัพท์, ประเภททรัพย์สิน, ปริมาณและจำนวน (เช่น จำนวนโฉนดและขนาดที่ดิน, อาคาร, เครื่องจักร), ที่ตั้งทรัพย์สิน, รายละเอียด, แนบเอกสาร) กดส่งข้อมูลที่ bjc@bjcc.co.th

 

ที่ดิน

พิจารณาจากจำนวนแปลงที่ดิน (โฉนดที่ดิน หรือ นส.3ก) เนื้อที่ดิน การพัฒนาที่ดิน โครงการจัดสรร ทำเลที่ตั้ง

 

บ้านอยู่อาศัย

พิจารณาจากประเภทบ้าน ขนาดที่ดิน ที่อยู่อาศัย จำนวน และมูลค่า

 

ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

คิดตามจำนวนแปลงที่ดิน เนื้อที่ดิน ประเภทอาคารและสิ่งปลูกสร้าง จำนวนอาคาร พื้นที่ใช้สอยแต่ละอาคาร ส่วนควบอาคาร การพัฒนาสิ่งก่อสร้างบนที่ดิน

 

เครื่องจักรและอุปกรณ์

พิจารณาจากประเภทเครื่องจักรและอุตสาหกรรม จำนวน ที่ตั้ง ความยากง่าย ลักษณะการผลิต เช่น กระบวนการผลิตต่อเนื่องทั้งโรงงาน (Continuous Production Line Machinery) กระบวนการผลิตตามสายการผลิต (Production Line Machinery) เครื่องจักรที่ใช้งานแบบเครื่องเดี่ยว (Stand Alone Machine or Individual Unit Machine) กระบวนการผลิตต่อเนื่อง โดยที่เครื่องจักรแต่ละส่วนมีการทำงานแบบเครื่องเดี่ยว (Stand Alone Unit)

 

ครุภัณฑ์

พิจารณาจากประเภทของครุภัณฑ์ จำนวน ปริมาณ และที่ตั้ง

เรือ

พิจารณาจากประเภทของเรือ ขนาดเรือ มูลค่า จำนวน และสถานที่สำรวจ

ยานพาหนะ

พิจารณาจากประเภทของยานพาหนะ มูลค่า จำนวน ระยะเวลาและสถานที่สำรวจ